วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

เคล็ดลับการเลือกซื้ออาหารแปรรูปอย่างฉลาด

เคล็ดลับการเลือกซื้ออาหารแปรรูปอย่างฉลาด

เพื่อให้ได้คุณค่าอาหารที่สมบูรณ์และปลอดภัยก่อนถึงมือคุณ

อาหารแปรรูป คือ อาหารที่ผ่านการแปรรูปโดยการตัดแต่ง การปรุงการถนอมด้วยวิธีต่างๆ และถูกบรรจุก่อนนำไปจำหน่าย หลักในการเลือกซื้อควรพิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้

ฉลากอาหาร เป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะต้องรู้จักและทำความเข้าใจกับความหมายของข้อความที่ปรากฏบนฉลาก เพื่อช่วยในการเลือกซื้อ

ส่วนประกอบของอาหาร พลังงานและสารอาหาร จะแสดงในรูปของปริมาณและร้อยละ อาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพควรมีปริมาณไขมันรวมไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวันและมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าร้อยละ 10

นอกจากนี้ ควรระวังเรื่องคอเลสเตอรอล ซึ่งร่างกายควรได้รับไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน น้ำตาลและเกลือก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ควรใส่ใจ การกินหวานหรือเค็มจัดมากๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ หลายโรค โดยควรได้รับน้ำตาลไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมด และเกลือประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน

สำหรับวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุก็ต้องให้ความสนใจโดยเฉพาะอาหารสด เช่น ผักผลไม้สด เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง ปลา และอาหารที่ปรุงสำเร็จในแต่ละวัน ควรตรวจสอบวันที่ผลิตและวันหมดอายุที่แสดงไว้ แต่ควรใช้ก่อนวันที่กำหนดหมดอายุ เพื่อให้ได้คุณค่าอาหารที่สมบูรณ์และปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร เช่นเดียวกับอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ก็ควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน

เลขทะเบียน มอก. หรือ อย. เป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่าอาหารนั้น ได้ผ่านการตรวจสอบแล้ว ทั้งนี้ บางครั้งสารต่างๆ ที่ใส่ในอาหาร เช่น สีผสมอาหาร สารกันบูด สารแต่งกลิ่น เป็นต้น ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ดังนั้นควรอ่านฉลากให้ถี่ถ้วนเพื่อลดอันตรายจากการแพ้

ลักษณะบรรจุภัณฑ์ ต้องอยู่ในสภาพปกติ ไม่บุบหรือบวม ไม่มีรอยแตกร้าว เป็นสนิมหรือมีรูรั่ว ตัวอาหารต้องไม่มีสี กลิ่น และรสชาติที่ผิดไปจากเดิม หรือมีวัตถุอื่นที่ไม่ใช่สารประกอบในอาหารเจือปน

นี่คือเหตุผลของการเลือกซื้ออาหารอย่างชาญฉลาด เพราะไม่ว่าจะเป็นอาหารสด หรือแปรรูปต้องพิจารณาให้เหมาะสมทั้งคุณค่าและปริมาณ เพื่อช่วยให้เราได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ อาหารแปรรูปบางชนิดยังมีส่วนประกอบของไขมันและเกลือโซเดียม ซ่อนอยู่ในตัวอาหารในปริมาณสูงหรือสูงมาก โดยที่ผู้บริโภคไม่ทราบ เช่น ไส้กรอกหมู ไส้กรอกเนื้อ ไก่งวง เป็นต้น

ไม่เพียงแต่ไส้กรอกเท่านั้นที่ไขมันสูง แต่แฮม หมูยอ กุนเชียง ไอศกรีม ขนมกรุบกรอบ เค้ก คุกกี้ ก็อาจมีคอเลสเตอรอล และเกลือโซเดียมในปริมาณสูงไม่แพ้กัน

โดยแท้จริงแล้ว คนในวัยทำงานผู้หญิงและผู้สูงอายุ ควรได้รับพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี ไขมันไม่เกิน 53 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนผู้ชายวัยทำงานควรได้รับพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี ไขมันไม่เกิน 66 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนคอเลสเตอรอลในวันหนึ่งควรได้รับไม่เกิน 300 มิลลิกรัม และเกลือโซเดียมไม่ควรเกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน





การเลือกซื้ออาหารแห้ง

การเลือกซื้ออาหารแห้ง



อาหารแห้ง เป็นอาหารซึ่งผ่านขบวนการอบหรือตากแห้ง เพื่อให้ส่วนที่เป็นน้ำถูกกำจัดออกไป เช่น ผัก ผลไม้ตากแห้ง เนื้อแห้ง น้ำผลไม้ผง คุณสมบัติของภาชนะที่บรรจุอาหารแห้ง




1. ความสามารถป้องกันความชื้น ภาชนะบรรจุที่ดีจะต้องสามารถป้องกันไอน้ำจากสภาวะอากาศรอบๆ ไม่ให้ผ่านเข้าไปในภาชนะบรรจุ เพราะจะทำให้อาหารชื้นเกาะกันเป็นก้อน ซึ่งจะทำให้เกิดรา และทำให้ปฏิกิริยาเคมีภายในอาหารเกิดเร็วขึ้น เช่น การเหม็นหืน การเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เป็นต้น
2. ความสามารถป้องกันอากาศ ภาชนะบรรจุที่ดีจะต้องสามารถป้องกันก๊าซออกซิเจน จากสภาวะอากาศรอบๆ ผ่านเข้าไปในภาชนะบรรจุ ภายในอาหารแห้งปฏิกิริยาเคมียังดำเนินไปช้าๆ ทำให้สี กลิ่น รส และเนื้อสัมผัสของอาหารเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ถ้าในภาชนะบรรจุมีก๊าซออกซิเจนอยู่ ปฏิกิริยาเคมีในอาหารแห้งจะเกิดได้เร็วขึ้นและอายุการเก็บรักษาของอาหารนั้นจะสั้นลง นอกจากนั้นอาหารบางชนิดมีส่วนประกอบของไขมันอยู่จะทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนเกิดการเหม็นหืนได้
3. ความทนทานต่อการกดหรือเสียดสี ภาชนะบรรจุที่ดีจะต้องทนทานต่อการกดหรือเสียดสีได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากเนื้ออาหารแห้งมักแข็ง เปราะ แตกง่าย และมีส่วนแหลมคมสามารถทิ่มแทงภาชนะบรรจุได้ ชนิดภาชนะบรรจุอาหารแห้ง
1. ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกทำจากสารหลายชนิด เช่น โพลิเอทิลีน (polyethylene) หรือ โพลิโพรพิลีน (polypropylene) หรือทำมาจากการประกบพลาสติกต่างชนิดเข้าด้วยกัน หรือประกบกับวัสดุอื่น เช่น กระดาษ แผ่นเปลวอะลูมิเนียม เป็นต้น เช่น ถุงใส่เครื่องดื่มผง หรือน้ำผลไม้ผง ก๋วยเตี๋ยวแห้ง มักโรนีแห้ง บางผลิตภัณฑ์อาจใช้การบรรจุระบบสูญญากาศด้วย เช่น กุ้งแห้ง ไส้กรอก กุนเชียง ฯลฯ
2. ถาด ถ้วย หรือกล่อง ทำจากแผ่นพลาสติก ภาชนะพวกนี้เป็นพลาสติกที่ขึ้นรูป ซึ่งสามารถใช้พลาสติกได้หลายชนิด เช่น โพลิเอทิลีน (polyethylene) หรือโพลิสไตรีน (polystyrene) เช่น น้ำพริกตาแดงแห้ง ขนมไทยแห้งๆ ภาชนะเหล่านี้อาจมีฝาเป็นวัสดุประเภทเดียวกัน หรือใช้ฟิล์มพลาสติกบางๆ จำพวกโพลิไวนิลครอไรด์ (polyvinylchloride) ห่อรัดก็ได้

3. ขวดแก้ว เช่น ขวดใส่น้ำมะตูมผง ขิงผง เป็นต้น
4. กล่องกระดาษแข็ง ทำด้วยกระดาษแข็ง หรืออาจใช้กระดาษแข็งเคลือบไข หรือเคลือบด้วยแผ่นเปลวอลูมิเนียมก็ได้ เพื่อให้สามารถป้องกันความชื้นได้ดี เช่น กล่องใส่ลูกเกดแห้ง ภายในกล่องกระดาษอาจมีถุงพลาสติกบรรจุอาหารแห้งอีกชั้นหนึ่ง

การเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์

การเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์
อาหารประเภทเนื้อ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อหมู
เลือกซื้อเนื้อสัตว์อายุน้อย โดยพิจารณาดูจากกระดูกที่ติดมา ถ้ากระดูกพรุนสีแดง มีส่วนหุ้มปลายกระดูก ตามข้อต่อหนาแสดงว่าเป็นสัตว์อายุน้อย แต่ถ้ากระดูกมีรูพรุนน้อย ส่วนใหญ่ค่อนข้างแข็ง สีขาว มีส่วนหุ้มปลาย กระดูกบาง แสดงว่าเป็นสัตว์แก่ เนื้อเหนียว คุณภาพไม่ดีเท่าสัตว์อายุน้อย เลือกซื้อเนื้อที่ฆ่าถูกวิธี เช่น ฆ่าจากโรงฆ่าสัตว์ของรัฐบาล มีกรรมวิธีชำแหละถูกต้อง ได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยว่าปลอดภัย ไม่มีโรค หรือพยาธิที่ติดต่อมาถึงคนได้
การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ มีลักษณะดังนี้เนื้อวัว การเลือกซื้อเนื้อวัวที่สด จะมีสีแดงสดไม่เขียว เมื่อใช้มีดตัดจะแห้ง มีมันสีเหลือง ลองใช้นิ้วกดดู จะไม่เป็นรอยบุ๋ม เมื่อวางทิ้งไว้จะมีน้ำสีแดงออกมา ดมดูไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าหรือเหม็นเปรี้ยว เนื้อควาย มีสีแดงคล้ำกว่าเนื้อวัว เส้นหยาบมีมันขาว เมื่อปรุงอาหารสุกแล้วจะเหนียวกว่าเนื้อวัว
ข้อสังเกตความแตกต่างระหว่างเนื้อวัวกับเนื้อควาย เนื้อวัวมีสีแดงสด เนื้อแน่นละเอียด มันวัวมีสีเหลือเนื้อควายจะมีลายเส้นของกล้ามเนื้อหยาบ เนื้อเหนียวกว่าและมีสีคล้ำกว่าเนื้อวัว มันที่ติดเนื้อควายจะมีสีขาวเหมือนเนื้อหมูการเลือกซื้อเนื้อส่วนต่าง ๆ ราคาจะไม่เท่ากัน เมื่อเวลาซื้อ จะต้องบอกผู้ขายว่าเราต้องการเนื้อส่วนใด เพื่อไปประกอบอาหาร ฉะนั้นผู้ซื้อจะต้องรู้จักส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเพื่อป้องกันการถูกหลอก
การเลือกซื้อเนื้อหมู ต้องดูเนื้อละเอียด มีสีชมพูอ่อน นุ่มเป็นมัน เนื้อแน่น มันสีขาวถ้าหมูแก่จะมีสีแดงแก่ มันสีเหลือง ไม่มีกลิ่นเหม็น ส่วนต่าง ๆ ของหมูมี หัว เนื้อแดง เนื้อสันใน สามชั้นขาหน้า ขาหลัง ซี่โครงเครื่องใน กระดูก ส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหมูที่นำมาประกอบอาหาร

การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง
อาหารกระป๋องเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง ทำให้เก็บอาหารไว้ได้นาน ไม่เน่าเสีย ง่ายต่อการเก็บรักษา และสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดทั้งปี โดยนำมาผ่านกรรมวิธีการผลิตที่สามารถทำลายและยังยั้งการขยายพันธุ์ของเชื้อโรค โดยบรรจุในกระป๋องโลหะที่มีการใช้ดีบุกเคลือบเพื่อป้องกันการเกิดสนิม และมีฝาปิดสนิท
การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง
ลักษณะภายนอก

1. ฉลาก จะต้องแสดงรายละเอียดดังนี้ ชื่ออาหาร เลขทะเบียนอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตน้ำหนักหรือปริมาตรสุทธิ วัน/เดือน/ปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ชนิด และปริมาณวัตถุเจือปน (ถ้ามี)
2. ภาชนะบรรจุที่เป็นกระป๋อง ฝา และก้นกระป๋อง ต้องไม่บุบบวม พองหรือโป่ง ไม่เป็นสนิม
ลักษณะภายใน

1. ขณะเปิดควรมีลมดูดเข้าไปในกระป๋อง แทนที่จะมีลมดันออกมา
2. อาหารที่บรรจุภายในต้องมีสี กลิ่น และรสตามลักษณะธรรมชาติของอาหารที่ผ่านความร้อนแต่ลักษณะต้องไม่เปลี่ยนไปจนอยู่ในสภาพที่เสื่อมคุณภาพ
3. ผิวด้านในกระป๋องควรเรียบ ไม่มีรอยเส้น สนิม หรือรอยด่าง ซึ่งแสดงว่ามีการกัดกร่อน
4. อาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ผักกาดดอง ควรเป็นกระป๋องที่มีแลคเกอร์เคลือบด้านใน
การบริโภค
1. ก่อนบริโภคถ้าต้องการอุ่น ควรถ่ายใส่ภาชนะหุงต้ม แล้วจึงอุ่น 2. อาหารกระป๋องที่เปิดแล้วควรถ่ายใส่ภาชนะอื่น เช่น ภาชนะแก้วมีฝา แล้วเก็บไว้ในตู้เย็น 3. ไม่ควรเก็บอาหารกระป๋องไว้นาน 4. ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นแต่ไม่อับชื้น และไม่ถูกแสงแดด 5. เก็บไว้ในที่สูงจากพื้น ป้องกันความสกปรกจากพื้น และสัตว์นำโรค

วิธีการเลือกซื้อผลไม้ไม่ให้เสียอารมณ์

วิธีการเลือกซื้อผลไม้ไม่ให้เสียอารมณ์ เมื่อวันเสาร์ อาทิตย์ ที่ผ่านมา แป๋มอ่านคอลัมภ์เที่ยวระยองในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ มีพูดถึงการเลือกซื้อผลไม้ในฤดูกาลนี้ มังคุด ทุเรียน เงาะ ฯลฯ แป๋มเห็นมีประโยชน์ดี เลยตัดมาฝากเพื่อนกันด้วยค่ะ
1. ทุเรียน พันธุ์ก้านยาวและชะนี ไม่ควรซื้อในช่วงนี้ เพราะทุเรียนสอพันธุ์นี้จะเกิดการไส้ซึมได้ง่ายเมื่อเจอฝน ส่วนหมอนทอง จะไม่ค่อยพบปัญหานี้ สำหรับการดูทุเรียนว่าสุกหรือไม่ ให้ดูดังนี้- คลำที่ก้านของผลหรือสังเกตดูว่ามีเม็ดผดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีเม็ดผดสีน้ำตาลขึ้นและลามไปถึงหนามถือว่าใช้ได้- ดูที่กึ่งกลางของพู ถ้าสีน้ำตาลเด่นชัด ก็ถือว่าใช้ได้- หนามของทุเรียนห่าง แข็ง ปลายออกสีน้ำตาล- เคาะดูแล้วโปร่ง เหมือนมีลมอยู่ภายใน

2. เงาะ ถ้าไปที่สวนไม่ค่อยมีปัญหา เพราะสามารถเด็ดจากต้นสดๆ แต่ถ้าจะเลือกซื้อกันจริงๆแล้ว ดูที่ขนและเปลือกไม่เป็นสีดำหรือเหี่ยวย่น ไม่มีน้ำแฉะบริเวณเปลือกและขน ขั้วผลไม่เป็นสีดำหรือเหี่ยวแห้ง ผลโดยรวมต้องมีความสดเมื่อแกะเปลือกออกจะต้องไม่ฉ่ำเต็มไปด้วยน้ำ
3. มังคุด ไม่ควรซื้อหน้าฝนเพราะจะเจอมังคุดเป็นแก้ว วิธีการเลือกซื้อมังคุดนี้เขาแนะให้ดูว่าเปลือกเป็นมันเลื่อมไม่แข็งเป็นหิน หรือไม่นิ่มเน่าเละ หรือไม่มียางที่แข็งตัวที่จับผิวหรือภายในเมื่อแกะดูเนื้อแน่นเต็มพู ระหว่างพูไม่มียางแข็งตัวเป็นก้อนติดอยู่
4. ลางสาด ให้ดูที่ผลภายในช่อมีขนาดเท่ากันเรียงตัวเป็นระเบียบ ก้านตรงช่อผลไม้บิดเบี้ยวส่วนหัวและส่วนท้ายผลอยู่ในแนวเดียวกัน มีผิวเหลืองนวลประกายดุจสีน้ำตาลจางๆ มีความสุกงอมเต็มที่แต่ไม่ถึงกับเน่าเสีย หากเป็นผลผลิตจากต้นใหม่ ๆ ควรเก็บไว้ระยะหนึ่งก่อนรับประทาน เพื่อให้มีอาการที่เรียกว่า ลืมต้น จะทำให้ลางสาดมีรสหวานและหอม
5. วิธีปอกสละ-ระกำ ใช้สองมือจับหัว - ท้าย อีกมือหนึ่งบิดท้ายของผล อย่าให้สวนกับหนาม จะลอกเปลือกออกมาได้โดยง่ายโดยไม่โดนหนามตำ

การเลือกซื้อผลไม้

การเลือกซื้อผลไม้
มังคุด : เลือกที่เปลือกไม่แข็ง ขั้วยังดูสด อยากได้ลูกที่มีขนาดกี่เมล็ดให้ดูใต้ลูกจะมีปุ่มเรียงเป็นวงกลมตามขนาดของเมล็ดภายใน

ทุเรียน : เลือกลูกที่มีลักษณะกลม จะมีรสชาดดีกว่าลูกที่มีลักษณะยาวรี แต่ละพูต้องมีขนาดเท่ากันจึงจะได้ทุเรียนครบทุกพู

องุนแดง : เลือกลูกที่มีสีแดงคล้ำ เนื้อแน่น ไม่มีรอยช้ำ ขนาดลูกเท่ากันทั้งพวง

องุ่นเขียว : เลือกเหมือนองุ่นแดง เพียงแต่เืลือกลูกยาวรี ซึ่งจะมีรสชาดดีกว่าลูกกลม

ฝรั่ง : หากชอบแบบเนื้อกรอบให้เลือกให้กลมแป้น ผิวเรียบ หากชอบแบบเนื้อแน่น ให้เลือกลูกรี ๆ ผิวไม่เรียบ

การเลือกซื้อผัก

การเลือกซื้อผัก
พิจารณาจากสี ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่
เลือกซื้อตามฤดูกาล การเลือกซื้อผักที่เป็นหัว มีดังนี้
เผือก มัน เลือกที่มีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวเรียบ
ผักกาดหัว เลือกหัวอ่อน ๆ ผิวเรียบไม่งอ
กะหล่ำปลี เลือก หัวแน่น ๆ และมีน้ำหนักมาก
หอมใหญ่ เลือกหัวแน่น ๆ เปลือกแข็ง
การเลือกซื้อผักที่เป็นฝัก
ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพลู ถั่วลันเตา เลือกฝักอ่อน ๆ สีเขียว แน่น ไม่พอง อ้วน มี เมล็ดเล็ก ๆ ข้างใน อันตรง ๆ ไม่คดงอ
การเลือกซื้อผักที่เป็นใบ
ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักบุ้ง ฯลฯ เลือกที่มีสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ และมีหนอน ต้นใหญ่อวบ ใบแน่นติดกับโคน
การเลือกซื้อผักที่เป็นผล
มะเขือเปาะ เลือกที่ขั้วติดแน่น สด มีน้ำหนักมาก ไม่เหี่ยว
แตงกวา แตงร้าน ลูกที่มีน้ำหนักสีเขียวอ่อน ลูกยาว ผิวนวล ไม่มีรอยช้ำ
มะนาวเลือกผิวบางเรียบ ไม่เหี่ยว - ฟักทอง ผลหนัก แน่น เนื้อเหลืองอมเขียว ผิวเปลือกแข็งขรุขระ