วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

เคล็ดลับการเลือกซื้ออาหารแปรรูปอย่างฉลาด

เคล็ดลับการเลือกซื้ออาหารแปรรูปอย่างฉลาด

เพื่อให้ได้คุณค่าอาหารที่สมบูรณ์และปลอดภัยก่อนถึงมือคุณ

อาหารแปรรูป คือ อาหารที่ผ่านการแปรรูปโดยการตัดแต่ง การปรุงการถนอมด้วยวิธีต่างๆ และถูกบรรจุก่อนนำไปจำหน่าย หลักในการเลือกซื้อควรพิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้

ฉลากอาหาร เป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะต้องรู้จักและทำความเข้าใจกับความหมายของข้อความที่ปรากฏบนฉลาก เพื่อช่วยในการเลือกซื้อ

ส่วนประกอบของอาหาร พลังงานและสารอาหาร จะแสดงในรูปของปริมาณและร้อยละ อาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพควรมีปริมาณไขมันรวมไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวันและมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าร้อยละ 10

นอกจากนี้ ควรระวังเรื่องคอเลสเตอรอล ซึ่งร่างกายควรได้รับไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน น้ำตาลและเกลือก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ควรใส่ใจ การกินหวานหรือเค็มจัดมากๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ หลายโรค โดยควรได้รับน้ำตาลไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมด และเกลือประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน

สำหรับวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุก็ต้องให้ความสนใจโดยเฉพาะอาหารสด เช่น ผักผลไม้สด เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง ปลา และอาหารที่ปรุงสำเร็จในแต่ละวัน ควรตรวจสอบวันที่ผลิตและวันหมดอายุที่แสดงไว้ แต่ควรใช้ก่อนวันที่กำหนดหมดอายุ เพื่อให้ได้คุณค่าอาหารที่สมบูรณ์และปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร เช่นเดียวกับอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ก็ควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน

เลขทะเบียน มอก. หรือ อย. เป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่าอาหารนั้น ได้ผ่านการตรวจสอบแล้ว ทั้งนี้ บางครั้งสารต่างๆ ที่ใส่ในอาหาร เช่น สีผสมอาหาร สารกันบูด สารแต่งกลิ่น เป็นต้น ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ดังนั้นควรอ่านฉลากให้ถี่ถ้วนเพื่อลดอันตรายจากการแพ้

ลักษณะบรรจุภัณฑ์ ต้องอยู่ในสภาพปกติ ไม่บุบหรือบวม ไม่มีรอยแตกร้าว เป็นสนิมหรือมีรูรั่ว ตัวอาหารต้องไม่มีสี กลิ่น และรสชาติที่ผิดไปจากเดิม หรือมีวัตถุอื่นที่ไม่ใช่สารประกอบในอาหารเจือปน

นี่คือเหตุผลของการเลือกซื้ออาหารอย่างชาญฉลาด เพราะไม่ว่าจะเป็นอาหารสด หรือแปรรูปต้องพิจารณาให้เหมาะสมทั้งคุณค่าและปริมาณ เพื่อช่วยให้เราได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ อาหารแปรรูปบางชนิดยังมีส่วนประกอบของไขมันและเกลือโซเดียม ซ่อนอยู่ในตัวอาหารในปริมาณสูงหรือสูงมาก โดยที่ผู้บริโภคไม่ทราบ เช่น ไส้กรอกหมู ไส้กรอกเนื้อ ไก่งวง เป็นต้น

ไม่เพียงแต่ไส้กรอกเท่านั้นที่ไขมันสูง แต่แฮม หมูยอ กุนเชียง ไอศกรีม ขนมกรุบกรอบ เค้ก คุกกี้ ก็อาจมีคอเลสเตอรอล และเกลือโซเดียมในปริมาณสูงไม่แพ้กัน

โดยแท้จริงแล้ว คนในวัยทำงานผู้หญิงและผู้สูงอายุ ควรได้รับพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี ไขมันไม่เกิน 53 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนผู้ชายวัยทำงานควรได้รับพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี ไขมันไม่เกิน 66 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนคอเลสเตอรอลในวันหนึ่งควรได้รับไม่เกิน 300 มิลลิกรัม และเกลือโซเดียมไม่ควรเกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน





การเลือกซื้ออาหารแห้ง

การเลือกซื้ออาหารแห้ง



อาหารแห้ง เป็นอาหารซึ่งผ่านขบวนการอบหรือตากแห้ง เพื่อให้ส่วนที่เป็นน้ำถูกกำจัดออกไป เช่น ผัก ผลไม้ตากแห้ง เนื้อแห้ง น้ำผลไม้ผง คุณสมบัติของภาชนะที่บรรจุอาหารแห้ง




1. ความสามารถป้องกันความชื้น ภาชนะบรรจุที่ดีจะต้องสามารถป้องกันไอน้ำจากสภาวะอากาศรอบๆ ไม่ให้ผ่านเข้าไปในภาชนะบรรจุ เพราะจะทำให้อาหารชื้นเกาะกันเป็นก้อน ซึ่งจะทำให้เกิดรา และทำให้ปฏิกิริยาเคมีภายในอาหารเกิดเร็วขึ้น เช่น การเหม็นหืน การเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เป็นต้น
2. ความสามารถป้องกันอากาศ ภาชนะบรรจุที่ดีจะต้องสามารถป้องกันก๊าซออกซิเจน จากสภาวะอากาศรอบๆ ผ่านเข้าไปในภาชนะบรรจุ ภายในอาหารแห้งปฏิกิริยาเคมียังดำเนินไปช้าๆ ทำให้สี กลิ่น รส และเนื้อสัมผัสของอาหารเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ถ้าในภาชนะบรรจุมีก๊าซออกซิเจนอยู่ ปฏิกิริยาเคมีในอาหารแห้งจะเกิดได้เร็วขึ้นและอายุการเก็บรักษาของอาหารนั้นจะสั้นลง นอกจากนั้นอาหารบางชนิดมีส่วนประกอบของไขมันอยู่จะทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนเกิดการเหม็นหืนได้
3. ความทนทานต่อการกดหรือเสียดสี ภาชนะบรรจุที่ดีจะต้องทนทานต่อการกดหรือเสียดสีได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากเนื้ออาหารแห้งมักแข็ง เปราะ แตกง่าย และมีส่วนแหลมคมสามารถทิ่มแทงภาชนะบรรจุได้ ชนิดภาชนะบรรจุอาหารแห้ง
1. ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกทำจากสารหลายชนิด เช่น โพลิเอทิลีน (polyethylene) หรือ โพลิโพรพิลีน (polypropylene) หรือทำมาจากการประกบพลาสติกต่างชนิดเข้าด้วยกัน หรือประกบกับวัสดุอื่น เช่น กระดาษ แผ่นเปลวอะลูมิเนียม เป็นต้น เช่น ถุงใส่เครื่องดื่มผง หรือน้ำผลไม้ผง ก๋วยเตี๋ยวแห้ง มักโรนีแห้ง บางผลิตภัณฑ์อาจใช้การบรรจุระบบสูญญากาศด้วย เช่น กุ้งแห้ง ไส้กรอก กุนเชียง ฯลฯ
2. ถาด ถ้วย หรือกล่อง ทำจากแผ่นพลาสติก ภาชนะพวกนี้เป็นพลาสติกที่ขึ้นรูป ซึ่งสามารถใช้พลาสติกได้หลายชนิด เช่น โพลิเอทิลีน (polyethylene) หรือโพลิสไตรีน (polystyrene) เช่น น้ำพริกตาแดงแห้ง ขนมไทยแห้งๆ ภาชนะเหล่านี้อาจมีฝาเป็นวัสดุประเภทเดียวกัน หรือใช้ฟิล์มพลาสติกบางๆ จำพวกโพลิไวนิลครอไรด์ (polyvinylchloride) ห่อรัดก็ได้

3. ขวดแก้ว เช่น ขวดใส่น้ำมะตูมผง ขิงผง เป็นต้น
4. กล่องกระดาษแข็ง ทำด้วยกระดาษแข็ง หรืออาจใช้กระดาษแข็งเคลือบไข หรือเคลือบด้วยแผ่นเปลวอลูมิเนียมก็ได้ เพื่อให้สามารถป้องกันความชื้นได้ดี เช่น กล่องใส่ลูกเกดแห้ง ภายในกล่องกระดาษอาจมีถุงพลาสติกบรรจุอาหารแห้งอีกชั้นหนึ่ง

การเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์

การเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์
อาหารประเภทเนื้อ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อหมู
เลือกซื้อเนื้อสัตว์อายุน้อย โดยพิจารณาดูจากกระดูกที่ติดมา ถ้ากระดูกพรุนสีแดง มีส่วนหุ้มปลายกระดูก ตามข้อต่อหนาแสดงว่าเป็นสัตว์อายุน้อย แต่ถ้ากระดูกมีรูพรุนน้อย ส่วนใหญ่ค่อนข้างแข็ง สีขาว มีส่วนหุ้มปลาย กระดูกบาง แสดงว่าเป็นสัตว์แก่ เนื้อเหนียว คุณภาพไม่ดีเท่าสัตว์อายุน้อย เลือกซื้อเนื้อที่ฆ่าถูกวิธี เช่น ฆ่าจากโรงฆ่าสัตว์ของรัฐบาล มีกรรมวิธีชำแหละถูกต้อง ได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยว่าปลอดภัย ไม่มีโรค หรือพยาธิที่ติดต่อมาถึงคนได้
การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ มีลักษณะดังนี้เนื้อวัว การเลือกซื้อเนื้อวัวที่สด จะมีสีแดงสดไม่เขียว เมื่อใช้มีดตัดจะแห้ง มีมันสีเหลือง ลองใช้นิ้วกดดู จะไม่เป็นรอยบุ๋ม เมื่อวางทิ้งไว้จะมีน้ำสีแดงออกมา ดมดูไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าหรือเหม็นเปรี้ยว เนื้อควาย มีสีแดงคล้ำกว่าเนื้อวัว เส้นหยาบมีมันขาว เมื่อปรุงอาหารสุกแล้วจะเหนียวกว่าเนื้อวัว
ข้อสังเกตความแตกต่างระหว่างเนื้อวัวกับเนื้อควาย เนื้อวัวมีสีแดงสด เนื้อแน่นละเอียด มันวัวมีสีเหลือเนื้อควายจะมีลายเส้นของกล้ามเนื้อหยาบ เนื้อเหนียวกว่าและมีสีคล้ำกว่าเนื้อวัว มันที่ติดเนื้อควายจะมีสีขาวเหมือนเนื้อหมูการเลือกซื้อเนื้อส่วนต่าง ๆ ราคาจะไม่เท่ากัน เมื่อเวลาซื้อ จะต้องบอกผู้ขายว่าเราต้องการเนื้อส่วนใด เพื่อไปประกอบอาหาร ฉะนั้นผู้ซื้อจะต้องรู้จักส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเพื่อป้องกันการถูกหลอก
การเลือกซื้อเนื้อหมู ต้องดูเนื้อละเอียด มีสีชมพูอ่อน นุ่มเป็นมัน เนื้อแน่น มันสีขาวถ้าหมูแก่จะมีสีแดงแก่ มันสีเหลือง ไม่มีกลิ่นเหม็น ส่วนต่าง ๆ ของหมูมี หัว เนื้อแดง เนื้อสันใน สามชั้นขาหน้า ขาหลัง ซี่โครงเครื่องใน กระดูก ส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหมูที่นำมาประกอบอาหาร

การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง
อาหารกระป๋องเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง ทำให้เก็บอาหารไว้ได้นาน ไม่เน่าเสีย ง่ายต่อการเก็บรักษา และสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดทั้งปี โดยนำมาผ่านกรรมวิธีการผลิตที่สามารถทำลายและยังยั้งการขยายพันธุ์ของเชื้อโรค โดยบรรจุในกระป๋องโลหะที่มีการใช้ดีบุกเคลือบเพื่อป้องกันการเกิดสนิม และมีฝาปิดสนิท
การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง
ลักษณะภายนอก

1. ฉลาก จะต้องแสดงรายละเอียดดังนี้ ชื่ออาหาร เลขทะเบียนอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตน้ำหนักหรือปริมาตรสุทธิ วัน/เดือน/ปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ชนิด และปริมาณวัตถุเจือปน (ถ้ามี)
2. ภาชนะบรรจุที่เป็นกระป๋อง ฝา และก้นกระป๋อง ต้องไม่บุบบวม พองหรือโป่ง ไม่เป็นสนิม
ลักษณะภายใน

1. ขณะเปิดควรมีลมดูดเข้าไปในกระป๋อง แทนที่จะมีลมดันออกมา
2. อาหารที่บรรจุภายในต้องมีสี กลิ่น และรสตามลักษณะธรรมชาติของอาหารที่ผ่านความร้อนแต่ลักษณะต้องไม่เปลี่ยนไปจนอยู่ในสภาพที่เสื่อมคุณภาพ
3. ผิวด้านในกระป๋องควรเรียบ ไม่มีรอยเส้น สนิม หรือรอยด่าง ซึ่งแสดงว่ามีการกัดกร่อน
4. อาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ผักกาดดอง ควรเป็นกระป๋องที่มีแลคเกอร์เคลือบด้านใน
การบริโภค
1. ก่อนบริโภคถ้าต้องการอุ่น ควรถ่ายใส่ภาชนะหุงต้ม แล้วจึงอุ่น 2. อาหารกระป๋องที่เปิดแล้วควรถ่ายใส่ภาชนะอื่น เช่น ภาชนะแก้วมีฝา แล้วเก็บไว้ในตู้เย็น 3. ไม่ควรเก็บอาหารกระป๋องไว้นาน 4. ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นแต่ไม่อับชื้น และไม่ถูกแสงแดด 5. เก็บไว้ในที่สูงจากพื้น ป้องกันความสกปรกจากพื้น และสัตว์นำโรค

วิธีการเลือกซื้อผลไม้ไม่ให้เสียอารมณ์

วิธีการเลือกซื้อผลไม้ไม่ให้เสียอารมณ์ เมื่อวันเสาร์ อาทิตย์ ที่ผ่านมา แป๋มอ่านคอลัมภ์เที่ยวระยองในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ มีพูดถึงการเลือกซื้อผลไม้ในฤดูกาลนี้ มังคุด ทุเรียน เงาะ ฯลฯ แป๋มเห็นมีประโยชน์ดี เลยตัดมาฝากเพื่อนกันด้วยค่ะ
1. ทุเรียน พันธุ์ก้านยาวและชะนี ไม่ควรซื้อในช่วงนี้ เพราะทุเรียนสอพันธุ์นี้จะเกิดการไส้ซึมได้ง่ายเมื่อเจอฝน ส่วนหมอนทอง จะไม่ค่อยพบปัญหานี้ สำหรับการดูทุเรียนว่าสุกหรือไม่ ให้ดูดังนี้- คลำที่ก้านของผลหรือสังเกตดูว่ามีเม็ดผดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีเม็ดผดสีน้ำตาลขึ้นและลามไปถึงหนามถือว่าใช้ได้- ดูที่กึ่งกลางของพู ถ้าสีน้ำตาลเด่นชัด ก็ถือว่าใช้ได้- หนามของทุเรียนห่าง แข็ง ปลายออกสีน้ำตาล- เคาะดูแล้วโปร่ง เหมือนมีลมอยู่ภายใน

2. เงาะ ถ้าไปที่สวนไม่ค่อยมีปัญหา เพราะสามารถเด็ดจากต้นสดๆ แต่ถ้าจะเลือกซื้อกันจริงๆแล้ว ดูที่ขนและเปลือกไม่เป็นสีดำหรือเหี่ยวย่น ไม่มีน้ำแฉะบริเวณเปลือกและขน ขั้วผลไม่เป็นสีดำหรือเหี่ยวแห้ง ผลโดยรวมต้องมีความสดเมื่อแกะเปลือกออกจะต้องไม่ฉ่ำเต็มไปด้วยน้ำ
3. มังคุด ไม่ควรซื้อหน้าฝนเพราะจะเจอมังคุดเป็นแก้ว วิธีการเลือกซื้อมังคุดนี้เขาแนะให้ดูว่าเปลือกเป็นมันเลื่อมไม่แข็งเป็นหิน หรือไม่นิ่มเน่าเละ หรือไม่มียางที่แข็งตัวที่จับผิวหรือภายในเมื่อแกะดูเนื้อแน่นเต็มพู ระหว่างพูไม่มียางแข็งตัวเป็นก้อนติดอยู่
4. ลางสาด ให้ดูที่ผลภายในช่อมีขนาดเท่ากันเรียงตัวเป็นระเบียบ ก้านตรงช่อผลไม้บิดเบี้ยวส่วนหัวและส่วนท้ายผลอยู่ในแนวเดียวกัน มีผิวเหลืองนวลประกายดุจสีน้ำตาลจางๆ มีความสุกงอมเต็มที่แต่ไม่ถึงกับเน่าเสีย หากเป็นผลผลิตจากต้นใหม่ ๆ ควรเก็บไว้ระยะหนึ่งก่อนรับประทาน เพื่อให้มีอาการที่เรียกว่า ลืมต้น จะทำให้ลางสาดมีรสหวานและหอม
5. วิธีปอกสละ-ระกำ ใช้สองมือจับหัว - ท้าย อีกมือหนึ่งบิดท้ายของผล อย่าให้สวนกับหนาม จะลอกเปลือกออกมาได้โดยง่ายโดยไม่โดนหนามตำ

การเลือกซื้อผลไม้

การเลือกซื้อผลไม้
มังคุด : เลือกที่เปลือกไม่แข็ง ขั้วยังดูสด อยากได้ลูกที่มีขนาดกี่เมล็ดให้ดูใต้ลูกจะมีปุ่มเรียงเป็นวงกลมตามขนาดของเมล็ดภายใน

ทุเรียน : เลือกลูกที่มีลักษณะกลม จะมีรสชาดดีกว่าลูกที่มีลักษณะยาวรี แต่ละพูต้องมีขนาดเท่ากันจึงจะได้ทุเรียนครบทุกพู

องุนแดง : เลือกลูกที่มีสีแดงคล้ำ เนื้อแน่น ไม่มีรอยช้ำ ขนาดลูกเท่ากันทั้งพวง

องุ่นเขียว : เลือกเหมือนองุ่นแดง เพียงแต่เืลือกลูกยาวรี ซึ่งจะมีรสชาดดีกว่าลูกกลม

ฝรั่ง : หากชอบแบบเนื้อกรอบให้เลือกให้กลมแป้น ผิวเรียบ หากชอบแบบเนื้อแน่น ให้เลือกลูกรี ๆ ผิวไม่เรียบ

การเลือกซื้อผัก

การเลือกซื้อผัก
พิจารณาจากสี ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่
เลือกซื้อตามฤดูกาล การเลือกซื้อผักที่เป็นหัว มีดังนี้
เผือก มัน เลือกที่มีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวเรียบ
ผักกาดหัว เลือกหัวอ่อน ๆ ผิวเรียบไม่งอ
กะหล่ำปลี เลือก หัวแน่น ๆ และมีน้ำหนักมาก
หอมใหญ่ เลือกหัวแน่น ๆ เปลือกแข็ง
การเลือกซื้อผักที่เป็นฝัก
ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพลู ถั่วลันเตา เลือกฝักอ่อน ๆ สีเขียว แน่น ไม่พอง อ้วน มี เมล็ดเล็ก ๆ ข้างใน อันตรง ๆ ไม่คดงอ
การเลือกซื้อผักที่เป็นใบ
ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักบุ้ง ฯลฯ เลือกที่มีสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ และมีหนอน ต้นใหญ่อวบ ใบแน่นติดกับโคน
การเลือกซื้อผักที่เป็นผล
มะเขือเปาะ เลือกที่ขั้วติดแน่น สด มีน้ำหนักมาก ไม่เหี่ยว
แตงกวา แตงร้าน ลูกที่มีน้ำหนักสีเขียวอ่อน ลูกยาว ผิวนวล ไม่มีรอยช้ำ
มะนาวเลือกผิวบางเรียบ ไม่เหี่ยว - ฟักทอง ผลหนัก แน่น เนื้อเหลืองอมเขียว ผิวเปลือกแข็งขรุขระ

อาหารแช่แข็ง

อาหารแช่แข็ง
การแช่แข็งเป็นขบวนการที่ทำให้ส่วนที่เป็นน้ำในอาหารแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง อันจะทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเจริญเติบโตได้
คุณสมบัติของภาชนะที่ใช้บรรจุอาหารแช่แข็ง
1. ความทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ อาหารแช่แข็งต้องอยู่ในสภาพอุณหภูมิต่ำมากคือ ประมาณ -18 องศาเซลเซียส
2. ความทนทานต่อความร้อนสูง อาหารแช่แข็งบางชนิดผู้บริโภคสามารถอุ่น หรืออบด้วยความร้อน แล้วรับประทานในภาชนะบรรจุได้ในกรณีเช่นนี้ ภาชนะบรรจุได้ในกรณีเช่นนี้ ภาชนะบรรจุจะต้องทนต่อความร้อนสูงได้ด้วย
3. การป้องกันการสูญเสียความชื้น ระหว่างเก็บรักษา ในตู้แช่แข็ง น้ำแข็งอาจระเหิดกลายเป็นไอน้ำ ซึ่งทำให้อาหารแช่แข็ง มีผิวหน้าแห้ง และลักษณะเนื้อสัมผัสเสียไป (freezer burn)
4. ความสามารถกันน้ำได้
5. ความแข็งแรง มีความแข็งแรงพอสมควร อาหารส่วนแหลมคมของผลึกน้ำแข็งอาจแทงภาชนะบรรจุแตกได้
6. การป้องกันแสง ภาชนะควรทึบแสงทั้งหมดหรือบางส่วนเพราะแสงจะเร่งการเปลี่ยนสีและปฎิกิริยาเคมีในเนื้ออาหารได้
ชนิดภาชนะบรรจุอาหารแช่แข็ง
1. ถุงพลาสติกทำจากโพลิเอทิลีนและถาดโฟม ถ้าเป็นภาชนะบรรจุเพื่อการขายปลีก นิยมใช้ถุงพลาสติกทำจากโพลิเอทิลีน (PE) หรือถาดพลาสติก เช่น ถาดโฟม
2. กล่องหรือถ้วยทำด้วยกระดาษแข็งเคลือบไขหรือพลาสติก ด้านนอกของกล่องกระดาษห่อด้วยกระดาษเคลือบไข พลาสติก หรือแผ่นเปลวอลูมิเนียม เช่น กุ้งแช่แข็ง ขนมอบแช่แข็ง
3. ถาดทำจากโฟมหรือแผ่นอลูมิเนียม ซึ่งจะใส่ในกล่องกระดาษแข็งอีกชั้นหนึ่ง เช่น อาหารแช่แข็งที่ปรุงสำเร็จแล้ว ซึ่งจะถูกอุ่นและรับประทานในถาดอลูมิเนียม (T.V.dinner)

อาหารสด

อาหารสด
อาหารสด เช่น ผัก ผลไม้สด และเนื้อสัตว์ต่างๆ เป็นอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย การเก็บในที่เย็นๆ เช่น ในตู้เย็น จะช่วยชลอการเสื่อมเสียของอาหารนั้น อาหารสดแต่ละชนิดมีลักษณะและมีความต้องการด้านการบรรจุแตกต่างกัน ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการบรรจุผักผลไม้สด
คุณสมบัติของภาชนะที่ใช้บรรจุผักผลไม้สด
1. การยอมให้อากาศเข้าออกง่ายพอควร ผักผลไม้เป็นสิ่งมีชีวิตจึงยังคงหายใจอยู่ตลอดเวลา ภาชนะบรรจุจึงควรยอมให้อากาศระบายออกไปได้ มิฉะนั้นอาจเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในภาชนะบรรจุ ทำให้ผักผลไม้สดเสื่อมคุณภาพได้
2. การยอมให้ไอน้ำผ่านเข้าออกได้สะดวก ภาชนะบรรจุควรระบายไอน้ำออกได้ เพราะผักผลไม้สดจะคายน้ำตลอดเวลา เกิดการสะสมความชื้นทำให้เชื้อราเกิดขึ้นได้
3. ความทนทานต่อความเย็น เมื่อได้รับความเย็นภาชนะบรรจุไม่กรอบหรือแตกหักง่าย
4. ความแข็งแรงสามารถรับแรงกดทับได้ ผักผลไม้สดมักมีเนื้อนิ่ม บอบช้ำง่าย ภาชนะบรรจุจึงควรรับแรงกดทับเมื่อมีการเรียงซ้อนได้
ชนิดภาชนะบรรจุอาหารสด
1. ถาดห่อด้วยฟิล์มพลาสติก

1.1 ถาด ถาดส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติกๆ ที่ นิยม คือ โพลิสไตรีน โฟม

หรือจะทำจากกระดาษแข็งเคลือบไขก็ได้

1.2 ฟิล์มที่ใช้ห่อหุ้มถาด อาจใช้โพลิเอทิลีน (polyethylene) หรือโพลิโพรพิลีน

(polypropylene) ทั้งนี้ ต้องเจาะรูที่ฟิล์มเพื่อระบายน้ำที่ระเหยออกมาให้แก่

อาหารที่บรรจุ หรืออาจจะใช้ โพลิไวนิลคลอไร่ด์ (polyvinylchloride)

ชนิดยืดรัด (cling film) ก็ได้

2. ถุงพลาสติกใส ที่นิยมที่สุดคือ โพลิเอทิลีน และควรเจาะรูถุงพลาสติก เพื่อระบายน้ำ

ที่ระเหยออกมาจากอาหารที่ห่อหุ้ม

3. กล่องกระดาษ กล่องกระดาษแข็งที่ใช้มีทั้งกล่องกระดาษลูกฟูกและกล่องที่ทำจาก

กระดาษแข็งบางชนิดเจาะเป็นช่องให้เห็นภายในด้วย

4. กล่องกระดาษลูกฟูก มักใช้เป็นภาชนะบรรจุสำหรับการขนส่ง เพราะสามารถบรรจุได้

ในปริมาณมาก ควรเลือกใช้กล่องที่มีความแข็งแรงสามารถรับแรงกดเมื่อวางซ้อนได้

ผักผลไม้บางประเภทที่ต้องการการระบายอากาศและน้ำ ต้องใช้กล่องที่มีการเจาะรู

ที่ผนังกล่อง

5. ตะกร้าพลาสติก เป็นภาชนะบรรจุเพื่อการขนส่งที่นิยมใช้หมุนเวียน (ใช้ได้หลายครั้ง)

ภายในประเทศ ระหว่างสวนกับตลาดขนส่ง มีความแข็งแรงและสามารถระบายอากาศ

และน้ำได้ดี บางชนิดมีฝาปิด บางชนิดมีลวดที่ปากตะกร้าเพื่อการเรียงซ้อนตะกร้า

ภัยบุหรี่

10 เคล็ดลับเลิกบุหรี่
สำหรับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ คุณอาจจะไม่รู้ว่าในแต่ละปีมีคนไทยเลิกสูบบุหรี่ได้มากกว่า 200,000 คน หรือโดยเฉลี่ยมีผู้เลิกสูบบุหรี่วันละ 600 คน จากสถิติพบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ที่หยุดสูบบุหรี่สามารถเลิกได้ด้วยตนเองดังนั้นเพื่อให้คุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเองสำเร็จ 10 เคล็ดลับต่อไปนี้ คือวิธีการปฏิบัติอย่างง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อการเลิกสูบบุหรี่

1. ขอคำปรึกษา
เพื่อให้คุณมีแนวทางในการเลิกสูบบุหรี่ คุณอาจโทรศัพท์เพื่อขอคำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ได้ที่ ควิทไลน์ หมายเลข 1600 หรือขอคำปรึกษาจากคนที่คุณรู้จักที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จมาแล้ว

2. หากำลังใจ
คุณควรบอกให้คนใกล้ชิดได้ทราบถึงความตั้งใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ เพราะกำลังใจจากคนรอบข้างจะช่วยให้คุณมีความพยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ให้ได้เพื่อคนที่คุณรัก 3. เป้าหมายอยู่ข้างหน้า
คุณควรวางแผนการปฏิบัติตัวในระหว่างการเลิกสูบบุหรี่โดยกำหนดวันที่จะลงมือเลิกสูบบุหรี่ อาจลือกเอาวันสำคัญต่างๆของครอบครัว เช่น วันเกิดตัวเอง วันครบรอบวันแต่งงาน หรือวันเกิดลูกแต่ทั้งนี้ไม่ควรกำหนดวันที่ห่างไกลเกินไปเพราะคุณอาจหมดไฟเสียก่อน

4. ไม่รอช้า...ลงมือ
คุณควรเตรียมตัวให้พร้อม ด้วยการทิ้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ให้หมด เตรียมผลไม้หรือขนมขบเคี้ยวที่ไม่หวาน หรือไม่ทำให้อ้วนไว้เพื่อช่วยในการลดความอยากสูบบุหรี่ รวมทั้งปรับเปลี่ยนกิจกรรมทีคุณมักทำร่วมกับการสูบบุหรี่ เช่น อ่านหนังสือแทนการสูบบุหรี่ระหว่างเข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำ กินผลไม้หรือลุกไปจากโต๊ะอาหารทันที่ที่กินอาหารเสร็จ หรือแปรงฟันทุ้งครั้งหลังกินอาหาร เพื่อลดความอยากสูบบุหรี่หลังอาหาร

5. ถือคำมั่น ... ไม่หวั่นไหว
เมื่อถึงวันลงมือขอให้คุณตื่นนอนด้วยความสดชื่น บอกตัวเองว่าคุณกำลังทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเองและคนใกล้ชิด เมื่ออยากสูบบุหรี่ก็ขอให้คุณทบทวนถึงเหตุผลที่ทำให้คุณตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ล้างหน้า ดื่มน้ำ อยู่ใกล้ชิดกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ หรือเล่นกับลูกให้มาขึ้น

6. ห่างไกล สิ่งกระตุ้น
ในระหว่างนี้ ขอให้คุณหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้คุณอยากสูบบุหรี่ เช่น ถ้าเคยดื่มกาแฟก็ควรงด เป็นต้น

7. ไม่หมกมุ่น ความเครียด
เมื่อรู้สึกเครียดให้หยุดพักสมองสักครู่ คลายความเครียดด้วยการพูดคุยกับคนอื่นๆ หรือหาหนังสือการ์ตูนขำขันมาไว้อ่านบ้างก็ได้ พึงระลึกเสมอว่า มีคนไม่สูบบุหรี่อีกมากที่คลายเครียดได้โดยไม่ต้องสูบบุหรี่

8. เจียดเวลา ออกกำลังกาย
คุณควรจัดเวลาออกกำลังกายบ้างอย่างน้อยวันละ 15-20 นาที เพราะนอกจากจะเป็นการควบคุมน้ำหนักที่อาจเพิ่มขึ้นแล้วยังทำให้สมองปลอดโปร่ง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ของหัวใจและปอด ถ้าไม่มีเวลาก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องทุ่นแรงต่างๆ เช่น กดลิฟต์ให้ต่ำกว่าชั้นที่ต้องการ 1 ชั้นเพื่อที่คุณจะได้เดินออกกำลังกายบ้าง

9. ไม้ท้าทาย บุหรี่
อย่าคิดว่าลองสูบบุหรี่บ้างเป็นครั้งคราวคงไม่เป็นไรเพราะการทดลองสูบบุหรี่เพียงมวนเดียว อาจหมายถึงการหวนคืนไปสู่ความเคยชินเก่าๆ อีก คุณมาไกลมาแล้ว อย่าปล่อยให้ตัวเองถอยหลังลงคลองอีกเลย

10. หากต้องเริ่มใหม่อีก อย่าท้อแท้
หากต้องการเริ่มต้นใหม่อีกที ก็อย่าท้อ ถ้าคุณหันกลับไปสูบบุหรี่อีกนั่นไม่ได้หมายถึงโลกได้ล่มสลายแล้ว ไม่ได้แปลว่าคุณเป็นคนล้มเหลวอย่างน้อยคุณก็ได้เรียนรู้ที่จะปรับปรุงตัวเองในคราวต่อไป ขอให้ถือว่าคุณอาจพ่ายแพ้ในบางสมรภูมิ แต่คุณจะเป็นผู้ชนะสงครามในที่สุด ขอเพียงพยายามต่อไป จงเดตรียมตัวให้พร้อม กำหนดวันที่จะหยุดและหยุดต่อไปจนตลอดกาล

100 ข้อคิดดีๆ

100 ข้อคิดดีๆ สั้นๆ เตือนใจคุณ บางครั้งการใช้ชีวิตก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป เราจำเป็นต้องมีหลักยึดเตือนใจ เพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างสงบสุข และสง่างาม ไม่เว้นเเต่จะเป็นการปฏิบัติต่อคนที่เราคิดว่าเป็นเพื่อน เพื่อเป็นการรักษามิตรภาพให้ยืนยาว อีกทั้งยังเป็นการคบกันด้วยความจริงใจ ช่วยเหลือกันในยามมีความทุกข์ ในยามสุขก็แบ่งปันให้กันด้วยความจริงใจ หากใครบอกว่า โอ้โหตั้ง 100 ข้อเชียวหรอ แต่ขอบอกว่าลองศึกษาดูก่อน มันไม่มากไม่มายและยากเย็นเกินไปที่เราจะปฏิบัติเลยจริงๆ
1.เอาใจเขามาใส่ใจเรา
2.เชื่อมั่นตัวเอง
3.อย่ามองคนที่หน้าตา
4.กล้าคิด พูด และทำ
5.เมื่อมีเรื่อง จงหมั่นปรึกษาผู้อื่น
6.และจงเป็นที่ปรึกษาให้ผู้อื่นด้วย
7.อย่าโกหกกับเรื่องที่คุณคิดว่าผิด
8.ไว้ใจบุคคลที่สมควรไว้ใจ
9.เปิดใจให้กว้าง
10.มองการณ์ไกล
11.วางแผนอนาคต
12.อย่าโทษตัวเอง
13.มีความรับผิดชอบ
14.ตอบแทนเมื่อได้รับ
15.ให้ในสิ่งที่ผู้อื่นอยากได้และไม่มี
16.อย่าใช้อารมณ์ แต่จงใช้ความคิด
17.คิดถึงส่วนรวมให้มาก
18.ดูแลตัวเองให้เป็น
19.รู้ผิด ชอบ ชั่ว ดี
20.อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเสียเปล่า
21.อย่ารู้ค่าสิ่งที่อยู่กับเราต่อเมื่อเราสูญเสียไปแล้ว
22.จงรู้ตัวอยู่เสมอว่าตอนนี้กำลังทำอะไร
23.ที่ทำอยู่มีผลดี ผลเสีย มีประโยชน์ หรือไร้ประโยชน์
24.อย่าวัวหายแล้วล้อมคอก
25.ให้อภัยแก่ตนเองและผู้อื่น
26.อย่าเก็บอดีตมาทำร้ายตนเอง แต่จงหัดที่จะเรียนรู้จากมัน
27.คนไม่ผิดคือคนที่ใหม่เคยทำอะไร
28.ได้หน้าอย่าลืมหลัง
29.คุณไม่ใช่พระเจ้า อย่าคิดซ่อนความรู้สึก แต่จงวางแผนที่จะดูแลมันไม่ให้เสีย
30.อย่าอ่านข้อความที่มีประโยชน์ผ่านๆ
31.อ่านแล้วคิด คิดแล้วทำ หมั่นพัฒนาตนเอง
32.รู้จักแบ่งเวลา และหน้าที่
33.ทำประโยขน์ให้แก่ส่วนรวมบ้าง
34.อย่าเห็นแก่ตัว
35.อย่ารอคอยในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
36.อย่ากลัวในสิ่งที่ตนสามารถสู้หรือเปลี่ยนแปลงมันได้
37.กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ หัดเติมให้คนอื่น แล้วเขาจะกลับมาเติมให้คุณเอง
38.เพื่อนไม่จำเป็นต้องเจอหน้ากันก็คุยกันได้
39.อย่าคิดว่าเขาไม่โทร.มา ถ้าคุณก็ไม่เคยโทร.ไป
40.จง เป็นฝ่ายให้มากกว่าเป็นฝ่ายรับ
41.ดูแลบิดามารดาให้ดี คุณมีโอกาศ รีบทำซะก่อนที่จะไม่มี
42.อย่าเสียใจกับสิ่งที่เลวร้ายหรือสูญเสียไปแล้ว มันไม่กลับมา แต่คุนสามารถทำมันใหม่หรือเรียนรู้จากมันได้
43.คำพูดเมื่อพูดไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับมาได้ ดังนั้น คิด ก่อนพูด
44.อย่าทุ่มเทในสิ่งที่ไร้ประโยชน์
45.คำพูดให้กำลังใจคนได้ ปลอบใจได้ ยุให้ทะเลาะกันได้ ทำให้เสียความรู้สึกได้ จงรู้ที่จะพูด
46.ชีวิตไม่ใช่เกม พลาดแล้วไม่สามารถเริ่มใหม่หรือกดโหลดได้
47.หาจุดหมายให้กับชีวิต
48.เครียดได้ แต่เครียดให้เป็น
49.ถ้างง เขียนหนังสือได้ แต่เขียนให้เป็นภาษา
50.วันๆหนึ่งคุณทำอะไรบ้าง ที่ไม่ใช่ กิน นอน เล่น
51.ไม่มีหมอคนไหนรอให้คนไข้จะตายแล้วค่อยช่วยหรอกนะ
52.เพื่อนคุณก็เช่นกัน อย่าปล่อยให้เขาเครียดจนจะตายแล้วถึงไปถามหรือดูแล
53.ร่างกายไม่ใช่เครื่องจักร ให้มันพักผ่อนซะบ้าง
54.คุณซื้อนาฬิกาได้ แต่คุณไม่สามารถซื้อเวลาได้
55.ตอนนี้มีใครคอยคุณอยู่รึเปล่า ถ้ามีกลับไปหาซะ
56.ตอนนี้คุณถึงเมื่อไหร่ ทำอะไรซะบ้าง
57.อย่ากล่าวคำขอโทษบ่อย มีอะไรดีๆตั้งหลายอย่างที่ทำแล้วไม่ต้องตามไปขอโทษ
58.ตอนคุณลำบากคุณคิดถึงใคร คุณอยากให้ใครช่วยเหลือ
59.ตอนนี้คนกำลังสบายอยู่ แล้วคนที่คุณเคยขอความช่วยเหลือล่ะ หมดประโยชน์แล้วหรือ
60. ไม่ใช่ แล้วไง ต้องให้บอกต่อมั้ย
61.ทำอะไรก้อได้ให้ตัวเองมีความสุข แต่อย่าบนทุกข์ของคนอื่น
62.ตอนที่คนกำลังอ่านประโยคนี้ จงจำไว้ว่าคุณเป็นมนุษย์ และยังมีชีวิตอยู่
63.ใครเป็นคนทำให้คุนมีชีวิต ตอบแทนเขาบ้างหรือยัง
64.ไม่ต้องรอให้ถึงวันพิเศษใดๆ แค่เข้าไปบอกเขาว่ารักก้อเพียงพอแล้ว
65.อย่ารอให้ถึงวันเกิดเพื่อน ถึงจะได้คุยกันหรือให้ของขวัญกัน
66.ไม่มีกฏหมายข้อใดห้ามให้ของขวัญในวันธรรมดา
67.ถ้าเป็นคุณอยู่ดีๆ มีเพื่อนเอาขนมมาให้ คุณจะรู้สึกดีมั้ย หรือดูที่ราคาขนม
68.เหล้าทำให้คุณลืมได้ตอนเมาแอ๋ แต่เพื่อนแท้ทำให้คุณลืมเรื่องร้ายๆได้ตลอดชีวิต
69.อย่าคิดว่าตนเองไม่มีเพื่อนหรือไม่มีใคร อย่างน้อยๆถ้าคุณได้อ่านข้อความนี้ จงรู้ไว้ว่าคุณยังมีคนพิมพ์คนนี้อีกคน
70.อย่าคิดว่าตนเองเป็นคนโชคร้ายที่สุด และอย่าคิดว่าตนเองเป็นคนโชคดีที่สุด
71.อย่าพูดว่าไม่มาเป็นเราไม่รู้หรอก ถ้า งั้นคุณก้อไม่รู้เรื่องของเขาเช่นกัน
72.เหนื่อยนักก็หยุดพักซะบ้าง
73.อย่าคิดว่าคนดีไม่มีในสังคม เพราะคุณก็เป็นคนเพียงแต่คุณยังไม่ได้ทำอะไรบางอย่าง
74.ปริศนาในเกมคุณแก้ได้ แล้วทำไมปริศนาในชีวิตคุณแก้ไม่ได้ ในเมื่อบทสรุปอยู่ในตัวคุณ
75.คุณมองเพชรที่ความงามภายในหรือป้ายราคาภายนอก
76.ถ้าคุณกินอาหารเหลือ ลองนึกถึงเด็กที่ไม่มีอันจะกิน
77.มีเรื่องราวอีกมากมายที่ไม่ได้เขียนอยู่ในหนังสือ ลองค้นคว้าดูจะรู้
78.ลูกธนูที่ถูกปล่อยจากหน้าไม้ อันตรายน้อยกว่าหอกที่เเทงมาจากข้างหลัง
79.การถูกหักหลังเป็นสิ่งที่เจ็บปวด อย่าให้มันเกิด
80.ทำยังไง ต้องให้ขโมยขึ้นบ้านก่อน ถึงไปดูรั้วบ้านใช่มั้ย
81.ทำใจกับสิ่งต่างๆ ล่วงหน้าไว้บ้างก้อดี
82.จะยกตัวอย่าง สมมติคนที่คุณรักจากไปตอนนี้ คุณคิดว่า คุณทำอะไรให้เขาบ้างหรือยัง
83.อย่าตอบว่าทำยังไงก็ตอบแทนไม่หมด ขอถามว่าทำครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
84.คุณทำใจได้แล้วหรือถ้ามันเกิดอะไรขึ้น คุณไปร้องไห้ข้างโลงศพ ยังไงเขาก้อไม่ฟื้นมาได้ยินหรอกนะ
85.ตัวคุณมีค่าอยู่แล้ว อยู่ที่คุณรู้จักดึงมันออกมาใช้ได้รึเปล่า
86.หัดคุยกับตัวเองซะบ้าง แล้วจะรู้ว่ามีอะไรอีกมากมายที่คุณยังไม่รู้
87.ร่างกายใช้มากี่ปีแล้ว เคยดูแลมันบ้างรึเปล่า หรือเอาไว้เพื่อให้วิญญาณมีที่สิงสถิต
88.การใส่เสื้อสวยๆไม่ช่วยให้ร่างกายดีขึ้นหรอกนะ ที่ดีขึ้นคือบุคลิกต่างหาก
89.หาความสุขของตัวเองให้เจอ หัดมีความสุขซะบ้าง อดีตเราลืมไม่ได้แต่เลิกคิดได้
90.ลองทำอะไรบ้าๆบ้างก้อดี อย่ายึดติดนักเลย
91.ผู้พิมพ์ไม่ใช่คนรู้อะไรมากมาย ไม่ได้มาโชว์ว่าตัวเองอวดรู้ แต่อยากให้คุณได้รุ้อะไรไว้บ้างก็ดี
92.สิ่งที่คุณปล่อยผ่านๆ ไปในชีวิตหรือเรื่องคุนเห็นว่าไม่สำคัญ กลับมาดูเเลตรงนั้นบ้างก็ดี
93.อย่าไว้ใจใครเกินไป ไม่ได้สอนให้ระแวงไม่ไว้ใจใคร แต่ระวังไว้บ้างก็ดี
94.อย่าตามเพื่อนนัก กินเหล้า เล่นไพ่ เที่ยวหญิงเที่ยว
95.ยาเสพติดทุกชนิด อย่าคิดจะลองเด็ดขาด
96.อย่าทำตามเพื่อนเพราะเพื่อนทำกันหมด ร่างกายเขากับร่างกายเรา แน่นอนจิตใจก็เหมือนกัน
97.ผู้ชายยังไงก้อคือผู้ชาย ผู้หญิงยังไงก็คือผู้หญิง
98.บางครั้งการอยู่คนเดียวก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป
99.ไม่มีมิตรถาวรและศัตรูที่เเท้จริง
100.จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อตัวเราเอง คนที่เรา รัก และคนที่อยู่รอบกายเรา